วัยรุ่นยุคนี้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดในสังคมยากกว่ายุคก่อนๆมาก จำนวนประชากรมากขึ้นในขณะที่ทรัพยากรน้อยลง ต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันมากขึ้น โอกาสที่จะสมัครงานแล้วได้งานน้อยลง ถ้าหวังได้งานดีๆยิ่งมีโอกาสน้อยลงไปอีก หลายคนเรียนมาแล้วหางานทำไม่ได้ แต่ที่น่าห่วงกว่าคือคนที่มีโอกาสเข้าทำงานแล้วกลับทำงานได้ไม่ดี แค่เข้างานได้ไม่เท่าไรก็อยากเปลี่ยนงาน อยากลาออก ทนหัวหน้าไม่ได้ ทนเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ขาดความอดความทน ไม่รอเวลาว่าอีกหน่อยก็จะค่อยๆดีขึ้น

อย่าว่าแต่วัยรุ่นเลย แค่เด็กอายุสิบขวบก็มีปัญหามิใช่น้อย พ่อแม่ครูอาจารย์หรือผู้ใหญ่เห็นพฤติกรรมของเด็กๆแล้ว ต้องรู้สึกเหมือนๆกันว่าอนาคตของเด็กในวันข้างหน้าจะเป็นเช่นไร เวลาว่างก็หันหน้าไปที่มือถือ พอทำข้อสอบไม่ได้อย่างที่หวังไว้ก็ขู่พ่อแม่แล้วว่าจะฆ่าตัวตาย พอผิดหวังอะไรนิดอะไรหน่อยก็บอกว่ารับไม่ได้ แล้วหันไปหาของมอมเมา หันไปคบเพื่อนที่เอาแต่ทำเรื่องสนุกไปวันๆ

ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเด็กๆยังมีความคิดที่ใสซื่อบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาวสะอาด ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนว่าโลกข้างนอกของจริงเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเด็กที่ชินแต่พ่อแม่เอาใจ พอเข้าทำงานแล้วไม่มีทางเอาแต่ใจตัวเองได้อีก ต้องเชื่อฟังทำตามคำสั่งของหัวหน้า หัวหน้าว่ายังไงเราก็ต้องทำตามนั้น พอถูกหัวหน้าตำหนิต่อว่าหน่อยก็ผิดหวังน้อยใจ ไม่พยายามปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับคนอื่น

สองสามวันมานี้มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งถามว่า ผมมุ่งหวังอยากจะให้เด็กๆหันมาเล่นปิงปองเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้ชนะแข่งขันใช่ไหม ถ้าแข่งชนะแล้วจะได้ส่งเสริมให้เด็กๆหันมาเล่นปิงปองกันมากขึ้น

ผมเรียนตอบว่า อยากให้เด็กหันมาเล่นปิงปองกันมากขึ้น เพื่อจะได้รู้จักกับความพ่ายแพ้ โอกาสที่จะแพ้มีมากกว่าโอกาสที่จะชนะ มีไม่กี่คนหรอกที่จะชนะจนได้ถ้วยรางวัล

 

Crying

 

แน่นอนว่าการเล่นปิงปองให้ประโยชน์หลายอย่างมากกว่าแค่แพ้หรือชนะ แต่เมื่อรู้จักแพ้นี่แหละที่ช่วยเตรียมตัวให้เด็กปรับตัวปรับใจเข้ากับสังคมและชีวิตการทำงานในอนาคตของเขา

ไม่ต้องคิดไปไกลถึงถ้วยรางวัลหรือชัยชนะอันดับ 1 2 3 หรอกครับ พอเริ่มเล่นปิงปองแล้วมานับแต้มเล่นเกมกันก็จะสอนให้เด็กรู้จักกับความพ่ายแพ้แล้ว พอแต้มถูกนำก็ต้องรู้จักทำใจ เก็บอารมณ์ไม่แสดงออกมาให้ใครเห็น เรียนรู้ที่จะยอมรับกับความพ่ายแพ้ มองการแพ้ชนะเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต หากจะหาทางเอาชนะก็ต้องอาศัยความพยายาม ทำตามกฎกติกา เรียนรู้ที่จะมีน้ำใจเป็นนักกีฬาที่ดี

บทเรียนจากการเล่นปิงปอง โดยเฉพาะจากความพ่ายแพ้นี่แหละครับที่จะเป็นภูมิคุ้มกัน ช่วยเป็นพื้นฐานของผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

เวลาที่คุณเห็นใครก็ตามกำลังฝึกซ้อมตีโต้กันไปมา อย่าดูแค่ว่านักปิงปองเขาตีโต้กันได้รุนแรงและโต้กันได้นานเท่านั้น ต้องสังเกตให้ดีด้วยว่าตำแหน่งที่เขาส่งลูกออกไปลงโต๊ะฝั่งตรงข้ามในพื้นที่เดิมเสมอหรือไม่ และพื้นที่ที่ว่านี้อยู่ตรงไหนบนโต๊ะ

สมัยที่ผมเพิ่งเริ่มต้นฝึกซ้อมกับครูจันทร์ ชูสัตยานนท์ที่ใต้ถุนยิมเนเซียม 1 สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน ต้องฝึกควบคุมทิศทางของการตีโต้ให้ส่งลูกลงที่มุมปลายโต๊ะของฝ่ายตรงข้ามเสมอ เรียกว่าตีเข้ามุมกันเลยก็ว่าได้ บ่อยครั้งทีเดียวที่จะเฉี่ยวลงปลายโต๊ะ กลายเป็นลูกกู้ดอยู่บ่อยๆ

การฝึกซ้อมที่เห็นกันทั่วไปโดยเฉพาะคนที่ฝึกกันเอง ไม่มีโค้ชคอยตักเตือน มักไม่สนใจว่าจะตีลงตรงไหน ส่วนใหญ่ฝึกตีกันแบบกลัวไม่ลงโต๊ะ เลยส่งลูกลงตรงกลางโต๊ะเป็นส่วนใหญ่ แถมตีไม่แม่นเสียอีก มุ่งแต่แรง หมุน กับเร็วกัน โดยไม่สนใจวิธีควบคุมทิศทางของลูก

การฝึกควบคุมทิศทางเพื่อส่งลูกลงในตำแหน่งที่ต้องการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ให้คิดจินตนาการหรือขีดเส้นแบ่งพื้นที่บนโต๊ะปิงปองเป็น 9 ช่องแล้วส่งลูกไปลงยังช่องที่ต้องการให้ได้ พอเก่งขึ้นแล้วแทนที่จะแบ่งเป็น 9 ช่องให้แบ่งพื้นที่ให้เป็นช่องเล็กลงไปอีก ช่วงแรกให้ฝึกตีลูกที่ไม่หมุน พอแม่นแล้วจึงเล่นลูกหมุนแบบท้อปสปิน ค่อยๆเพิ่มความหมุนขึ้นเรื่อยๆ

Table12 

โค้ชปิงปองญี่ปุ่นสอนให้ฝึกตีโต้กันไปมาผสมกันหลายแบบสลับกัน บางลูกให้ตีลูกไม่หมุน บางลูกหมุนแบบท้อปสปิน บางลูกหมุนข้างเลี้ยว หมุนมากหรือน้อยสลับกันไป วิถีของลูกที่ลอยไปก็ต้องปรับให้โค้งมากบ้างโค้งน้อยบ้าง สลับกันไปเรื่อยๆในการตีโต้กัน โดยพยายามใช้ท่าทางแบบเดียวกันตลอดเพื่อทำให้คู่ต่อสู้อ่านท่าไม่ออก ไม่ได้ตีโต้กันแบบธรรมดาอย่างที่เราเห็นในทีวีแล้วนึกกันง่ายๆว่าเขาเล่นลูกแบบเดียวกันทุกลูก สังเกตให้ดีว่าเวลาโยกกัน เขาส่งลูกฉีกเลี้ยวออกเส้นข้างเสียด้วยซ้ำไป

SideLine

คนที่ตีแม่นจะกลายเป็นคู่ซ้อมที่ทุกคนอยากเล่นด้วย ทีมใดก็ตามที่มีนักปิงปองแบบนี้รับรองว่าจะช่วยกันฝึกซ้อมจนเก่งขึ้นได้ทุกคน

ในการโต้ตอบลูกตัดแบบ Backspin ถ้าเราจะตีกลับไปแบบ Topspin ควรตีให้โดนลูกปิงปองที่กระเด้งขึ้นในจังหวะใด และเพราะอะไรจึงต้องเลือกตีในจังหวะนั้น

ในแง่ของกลยุทธ

ในเมื่อเล่นกับมือรับแล้ว มือบุกต้องบุกเสมอ อย่าเปิดโอกาสให้มือรับสวนกลับ ยิ่งมือรับยุคนี้ไม่ใช่เอาแต่รับอย่างเดียว เขาอาจบุกกลับทันทีที่มีจังหวะ ดังนั้นมือบุกต้องบุกให้เร็วที่สุดในจังหวะที่ลูกกระเด้งขึ้นหรือลูกยังสูงกว่าระดับเน็ต

มือบุกต้องไม่ถอยไปตีลูกจังหวะลง อย่าใช้วิธีบุกไปหยอดไป แต่ต้องบุกโยกซ้ายขวาหรือท้อปอัดเข้าตัว พอมือรับถอยไปไกลและเสียหลักแล้วจึงสลับมาหยอดบ้าง

จากนั้นต้องเข้าใจหลักการเอาชนะความหมุนของลูกตัดที่ส่งมา

การโต้กลับลูกที่ลอยมาแบบ backspin ด้วยการตี topspin หรือ loop กลับไป ก่อนที่ลูกจะกระทบไม้ ต้องออกแรงปั่นลูก topspin กลับไปให้หมุนพอๆกับลูกที่หมุนมา เพื่อทำลายอิทธิพลของลูก backspin ที่จะมีต่อไม้ของผู้รับ ทำให้ทิศทางการหมุนของลูกปิงปองที่ลอยมาและลอยกลับไปไม่ได้เปลี่ยนทิศทางการหมุนแม้แต่น้อย

TSvsBS

แต่ถ้าเอาแต่รอให้ลูก backspin ลอยมากระทบไม้ก่อนแล้วค่อยออกแรงกลับไป ถ้าคว่ำหน้าไม้ตีหรือหงายหน้าไม้น้อยไปจะพบว่าลูกกระเด้งติดเน็ตเพราะโดนอิทธิพลของลูก backspin เต็มที่นั่นเอง

สำหรับนักปิงปองมือใหม่มักมีวงสวิงช่วงอัดแรงสั้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถเหวี่ยงไม้เข้าหาลูกที่ลอยมาหรือชอบรอให้ลูกวิ่งเข้าหาไม้ ทำให้รับอิทธิพลของลูกที่ตัดมาเต็มๆ ยิ่งกว่านั้นหากรอตีลูกจังหวะลง ย่อมทำให้มุมที่ลูกจะกระเด้งออกจากไม้พุ่งลงเน็ตไปในตัว จะรู้สึกเสมือนลูกที่ตัดมานั้นหมุนหนักขึ้นเสียด้วยซ้ำ

123bounceB

ดังนั้นวิธีแก้สำหรับนักปิงปองมือใหม่ที่ยังติดนิสัยตีลูกในจังหวะลง ต้องสอดไม้เข้าไปใต้ลูกให้มากขึ้นตามลูกตัดที่หนักขึ้นและเหวี่ยงไม้ชันมากขึ้นตามไปด้วย

TopspinVSBackspin

วิธีฝึกที่จะเอาชนะลูกตัดแบบแบ็คสปิน ต้องเริ่มจากการเพิ่มวงสวิงช่วงอัดแรงให้มากขึ้น พอลูกกระเด้งขึ้นให้เหวี่ยงไม้สวนเข้าหาลูก ปั้นลูกให้หมุนมากกว่าหรือเท่ากับความหมุนของลูกที่ลอยมา ลากไม้ให้ยาวไปข้างหน้าเพื่อดันลูกให้ข้ามเน็ตกลับไป

 

JooSeHyukhttps://youtu.be/9BddZu_hngo

 

ผมเห็นนักปิงปองที่ตีปิงปองกันแบบเอาเป็นเอาตาย เห็นแล้วแล้วอดห่วงไม่ได้ว่าอีกหน่อยเขาจะเป็นอย่างผมหรือไม่ เจ็บเข่าจนต้องผ่าเข่า พอผ่าแล้วเส้นยึดกันจนเล่นไม่ได้ไปยี่สิบกว่าปี ยังมีอดีตทีมชาติกับนักปิงปองอีกหลายคนที่เล่นจนบาดเจ็บ ขยับแขนก็เจ็บไหล่เจ็บข้อศอก ก้าวแต่ละก้าวก็เจ็บเข่า ถ้าไม่ได้ตัวช่วยด้วยการใส่สนับก็เล่นไม่ไหว แต่การใส่สนับนั้นก็เป็นดาบสองคมเพราะทำให้ร่างกายสบายจนเคยตัว ไม่เสริมสร้างกล้ามเนื้อมาช่วยรองรับแรง พอพึ่งสนับเข่าสนับข้อศอกก็ต้องสวมสนับไปเรื่อยๆ 

อย่าว่าแต่ทีมชาติเลย คนที่เล่นปิงปองแค่เพื่อได้ออกกำลังกายบ้าง ท่ายืนก็ผิด ท่าตีก็ผิด ผมเตือนว่าให้ปรับท่าเสียใหม่ก็ดื้อไม่ยอมทำตาม เถียงคอเป็นเอ็นอ้างว่าร่างกายของเขาทำไม่ได้หรอก แขนติด ไหล่ติด เคยประสบอุบัติเหตุบ้าง เคยชินตีท่าอย่างนี้มาตลอด คุยทับกลับมาเสียอีกว่า อย่าไปยึดติดกับตำรานักเลย หลายคนเขาก็ตีท่าแบบนี้กัน เขาใช้ท่านี้เอาชนะคนอื่นมานักต่อนัก ผมเตือนแล้วเตือนอีกก็ยังไม่ยอมปรับปรุง สุดท้ายก็เจ็บหลังจนเล่นไม่ได้อีกเลย หรือไม่ก็เล่นปิงปองไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน รอวันที่จะเจ็บตัวจนเล่นไม่ได้ไปอีกคน

บทความแนะนำ Top 3 Table Tennis Injuries (and How to Prevent Them)!

ผ่อนคลาย (Relax)

ผ่อนคลาย (Relax) คือ หลักการสำคัญของการเล่นปิงปองและกีฬาอื่นแทบทุกชนิด แม้แต่การขยับแข้งขยับขาที่คนเราเดินไปเดินมากันอยู่นี้ก็ต้องอาศัยการผ่อนคลายไว้ก่อน มีใครที่ไหนบ้างที่เดินโดยไม่ต้องงอขา เอื้อมแขนไปหยิบของโดยไม่ต้องงอแขนงอนิ้ว

การงอของข้อพับทุกส่วนนี่แหละคือการผ่อนคลาย ทำให้กล้ามเนื้อพร้อมที่จะขยับเข้าขยับออก (ในแง่ของกล้ามเนื้อคือการหดเข้าแล้วยืดออก)

BasicStanceถ้ายืนตรงไม่ยอมพับเอวงอเข่า เวลาถูกโยกก็จะเสียสมดุลจะล้มได้ง่าย ต้องเอื้อมออกไปตีลูก พอเอื้อมออกไปก็จะต้องเกร็งเอวเกร็งหลังเพื่อทำตัวไม่ให้ล้ม อีกหน่อยก็จะปวดหลังปวดเอว

แนวของหัวเข่าต้องอยู่ข้างในแนวของเท้า ถ้าถูกโยกไปทางขวาจะได้ดีดตัวจากเท้าซ้าย ถ้าถูกโยกไปทางซ้ายจะได้ดีดตัวจากเท้าขวา

kneesInside

ถ้าวางเท้าขวาไว้ข้างหน้าเท้าซ้ายหรือแม้แต่วางเท้าขนานกัน เวลาถ่ายน้ำหนักไปข้างหน้าเพื่อตีลูกออกไป กระดูกสันหลังก็จะทำหน้าที่รับแรงกระแทกตอนที่จะหยุดวงเหวี่ยง อีกหน่อยก็จะปวดหลังหรือแนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยว

ถ้าจับไม้กำด้ามไม้แน่นเกินไป กล้ามเนื้อแขนก็จะเกร็งทำให้เหวี่ยงแขนไม่ออก ข้อพับข้อศอกไม่ทำงาน ต้องอาศัยแรงเหวี่ยงจากหัวไหล่แทน ภาระการรับแรงก็จะตกอยู่กับกระดูกสันหลังกับหัวไหล่

เมื่อตีลูกปิงปองออกไปแล้วก็ต้องเตรียมพร้อมกลับมาเพื่อตีลูกถัดไป ถ้าเอาแต่ยืนตรง ไม่พับงอเอว ส่วนที่รับแรงที่ส่งออกไปแล้วดีดกลับเหมือนกันชนก็คือกระดูกสันหลังที่ต้องรับภาระอย่างมาก

ท่าตีปิงปองที่ดีต้องถ่ายแรงจากเท้าหลังมาเท้าหน้า ลำตัวหมุนตามแนวตั้ง ส่งแรงจากเท้ามาสู่เอว จากเอวหรือสะโพกมาสู่ไหล่ จากไหล่มาสู่แขนท่อนบน จากแขนท่อนบนมาสู่แขนท่อนล่าง จากแขนท่อนล่างมาสู่มือ จากมือก็ส่งแรงไปที่ไม้ปิงปอง เป็นการถ่ายเทโมเมนตัมจากอวัยวะที่มีมวลมากไปสู่อวัยวะที่มีมวลน้อยกว่า ดูรายละเอียดได้จากบทความเรื่อง พลังที่ซ่อนเร้น

ท่าเตรียมพร้อมของกีฬาเทนนิสไม่ได้ต่างจากปิงปอง แถมเขามีการศึกษาไว้อย่างละเอียด แนะนำให้อ่าน
http://blog.sirolatrainingmethod.com/2015/08/athletic-stance-4-important-rules-to-have-optimal-position/

 

วิดีโอในยูทูปทำให้นักปิงปองมือใหม่เลียนแบบท่าทางของแชมป์โดยไม่รู้เลยว่า กว่าเขาจะเล่นได้แบบที่เห็นนั้นต้องผ่านการฝึกฝนมามากเหลือเกิน ถ้าเราเอาแต่ฝึกข้ามขั้นก็จะได้แต่เปลือกเท่านั้น ท่าทางแมัจะดูเหมือนแต่อานุภาพกลับด้อยกว่า ดังนั้นเบสิคหรือพื้นฐานที่ดีจึงเป็นขั้นตอนที่ห้ามมองข้ามอย่างเด็ดขาด

วิดีโอของนักปิงปองสาวชาวเกาหลีที่นำมาแนะนำนี้ สร้างขึ้นมาอย่างดีมาก ขอให้สังเกตกำแพงที่เป็นเส้นฉากหลังไว้ด้วยว่าตัวนักปิงปองมีอาการส่ายไปมาขึ้นลงอย่างไรบ้าง เปรียบเทียบแต่ละขั้นว่ามีการขยับตัวขยับแขนมากน้อยต่างกัน

 

hyoyoung

https://www.youtube.com/channel/UCbY2IZvpW8pxHcCFDWfwC1w

hyoyoungVDO 

1 ท่าเตรียมพร้อม https://youtu.be/HszbKMS46GI

2 Backhand Drive https://youtu.be/NgX7UIfNKRI

3 การขยับเท้า ขยับตัว https://youtu.be/CVesptAgp3w

4 Backhand Push https://youtu.be/xwkbNEzCeVU

5 Backhand / Forehand Push https://youtu.be/K0D4Y5fhdG8

6 Forehand Drive https://youtu.be/Fv_aK5eTVFw

7 Forehand Drive https://youtu.be/f4GzBbEjtnE

8 Backhand Drive https://youtu.be/AXDUR8OGQ6E

9 Forehand Topspin https://youtu.be/vaMLFpFuE3k

10 Forehand Topspin https://youtu.be/KhKim2iCKR8

11 Backhand Topspin https://youtu.be/78fHcgZi_2o

12 Forehand Loop https://youtu.be/BC5ueZ2Rfso

13 Block https://youtu.be/0s74uWG50Lc

Serve

https://youtu.be/ivtyP2r97c4

https://youtu.be/ezMyuwetN-A

https://youtu.be/WY3D0QxpriE

https://youtu.be/AqQDc9r4YDc

Footwork

https://youtu.be/K92kt4HRxjo


 

นักปิงปองที่หวังจะมีอาชีพเป็นโค้ช ควรหาทางสร้างเว็บทำวิดีโอให้ได้ดีแบบนี้ ไม่งั้นแล้วจะกลายเป็นว่าอาชีพโค้ชที่สอนได้แต่แบบเดิมที่จะสาบสูญไปตามยุค IGen ซึ่งผู้ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาดัดแปลงประยุกต์ใช้ได้เท่านั้นที่จะอยู่รอด

 

ตามปกติท่าตีแบ็คแฮนด์ ในขณะที่เหวี่ยงแขนจากซ้ายไปขวา เราถูกสอนกันมาว่าให้ถ่ายน้ำหนักจากเท้าซ้ายมาเท้าขวา โดยจุดที่ไม้กระทบลูกปิงปองอยู่ค่อนไปทางซ้ายของลำตัว แต่ถ้าตำแหน่งที่ยืนตั้งท่ารับลูกนั้นค่อนออกไปทางซ้ายมือของโต๊ะอยู่แล้วล่ะ ลูกที่ส่งมาหาเราแทบไม่มีทางที่จะอยู่ทางซ้ายของลำตัวได้เลย ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณกลางตัวหรือค่อนออกมาทางขวานิดๆเสียด้วยซ้ำ หากเป็นแบบนี้แล้วยังจำเป็นต้องถ่ายน้ำหนักจากขาซ้ายมาขวาอยู่อีกหรือ

 

MaLongBHSlowMotion

https://youtu.be/TytZ9PTCzaA

MaLongBackhand

 

จากภาพนี้สังเกตว่า จุดที่ไม้กระทบลูกอยู่กลางตัว แทนที่จะใช้วิธีถ่ายน้ำหนักจากเท้าซ้ายมาขวาหรือขวามาซ้าย Ma Long ใช้วิธีพับเอวลงตรงๆเพื่อย่อขาท่อนบนแล้วดีดตัวขึ้นมาจากเท้าทั้งสองข้างพร้อมกันเพื่อส่งแรง (แต่ไม่ได้ย่อขาท่อนล่างลงไปจากเดิม)

ส่วนมุมท่อนแขนตรงข้อศอกในจังหวะอัดแรงดูเหมือนเป็นมุมฉากไว้ตลอดเวลา โดยจะเหวี่ยงหัวไหล่ให้ข้อศอกมาขนานกับลำตัวตรงเอวด้านขวา ช่วงนี้หน้าไม้ปิงปองจะถูกอัดเข้าหาพุงเพื่ออัดแรง จากนั้นพอดีดตัวขึ้นก็จะเหวี่ยงแขนท่อนบนตามออกไปด้านหน้า ตามด้วยแขนท่อนล่างที่จะเหวี่ยงขึ้นมาเพียงเล็กน้อยแล้วยืดแขนออกไปข้างหน้า สุดท้ายข้อมือจึงสะบัดออกไปตามแรงโมเมนตัมที่ส่งออกมา โดยจังหวะที่ไม้กระทบลูกจะเป็นช่วงที่ไม้เคลื่อนที่เร็วที่สุดพอดีและมีทิศทางที่กดหน้าไม้ลง (ไม่ได้เหวี่ยงขึ้นอีก) จึงทำให้ส่งลูกออกไปได้แรงและเร็วมาก

ในจังหวะอัดแรง ให้ใช้กล้ามเนื้อของหัวไหล่ดึงข้อศอกกลับมาไว้ด้านข้างลำตัว ทำให้มีระยะทางให้อัดแรงได้มากขึ้นกว่าการวางข้อศอกไว้หน้าลำตัว พอปล่อยแรงก็ดันข้อศอกออกไปตรงๆ คล้ายกับท่าตีศอกเสยขึ้นของมวยไทย

 

MaLongvsFanZhendong BackhandRally

https://youtu.be/xwnhnK_uYqY

ถ้าอยากจะเลียนแบบท่านี้หรือท่าอื่นใดก็ตามของนักปิงปองจีน อย่าลืมว่า Ma Long สูง 175 ซม ดังนั้นท่าของเขาที่เห็นว่าเหวี่ยงไม้ลงไปที่พุงนั้น ระดับของไม้ยังไงๆก็ยังไม่ได้ต่ำกว่าระดับโต๊ะ ถ้าคนตัวเตี้ยกว่านี้ต้องอย่าเหวี่ยงไม้ลงไปต่ำนัก ท่าทางอาจจะทำได้เหมือนแต่อานุภาพห่างคนละชั้นกันเพราะความสูงนี่เอง

MaLongHeight

เวลาเหวี่ยงแขนตีปิงปองรู้สึกตัวไหมว่า ตัวท่อนแขนมีน้ำหนัก

ถ้าเหวี่ยงแขนโดยไม่รู้สึกถึงน้ำหนักของแขนล่ะก้อ นั่นแสดงว่าคุณใช้แรงที่มาจากการเหวี่ยงแขนอย่างเดียว แม้จะดูเหมือนตีได้แรงก็ตามแต่ถือว่าได้แรงไม่สมกับที่พยายามออกแรงเหวี่ยงออกไป อนาคตจะปวดที่ด้านนอกของข้อศอกเป็นโรคที่เรียกว่า Tennis Elbow ถ้าปวดด้านในเรียกว่า Golfer's Elbow เล่นปิงปองได้แค่ไม่กี่นาทีแล้วเหนื่อยมากๆเพราะเอาแต่ออกแรงเหวี่ยงแขนนี่แหละ

 

tennis golfers

วิธีเหวี่ยงแขนตีลูกที่จะทำให้ได้แรงสมกับที่ออกแรงนั้น มีหลักการง่ายๆว่า ต้องอย่าเหวี่ยงแขนก่อนการหมุนตัว โดยเริ่มหมุนลำตัวเพื่อถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังมาที่สะโพก จากสะโพกมาที่ไหล่ พอไหล่ขยับไปข้างหน้าแล้วจะรู้สึกว่ากำลังลากแขนตามไป (Pulling Force) ซึ่งจะรู้สึกถึงน้ำหนักของท่อนแขนในจังหวะนี้เอง พอแขนขยับไปเองจากการหมุนของลำตัวแล้วจึงออกแรงเหวี่ยงแขนเสริมเข้าไป

 

loop force2

 

เพื่อให้เกิดการถ่ายเทโมเมนตัมจากลำตัวมาสู่ท่อนแขนโดยไม่เกิดการสูญเสีย ให้ยืดแขนไว้ตลอดในช่วงที่เหวี่ยงแขน จากนั้นในจังหวะก่อนที่ไม้จะกระทบลูกให้งอแขนเพื่อลดรัศมีของวงเหวี่ยง ซึ่งเมื่อรัศมีของวงเหวี่ยงลดลงจะส่งผลทำให้ไม้เคลื่อนที่เร็วขึ้นมาก

 

WL1 6 

พอเหวี่ยงไม้ส่งแรงกระทบลูกปิงปองออกไปแล้ว อย่าเหวี่ยงแขนกลับมาในวงเดิมที่เหวี่ยงแขนออกไป แต่ให้หุบแขนเข้าหาลำตัวเพื่อลดรัศมีลงจะทำให้หมุนลำตัวเพื่ออัดแรงได้เร็วกว่ามาก พอหุบแขนเข้าหาลำตัวแล้วจึงบิดสะโพกไปข้างหลังเพื่ออัดแรง ต่อมาจึงปล่อยไม้ที่แนบลำตัวลงไปข้างหลังพร้อมกับถ่ายน้ำหนักกลับมาที่เท้าหลังเพื่อรอการตีในลูกถัดไป

WLBackswing

 

หลักการของ Pulling Force นี้ยังประยุกต์ใช้ได้กับข้อมือด้วย เวลาเหวี่ยงแขนต้องรู้สึกถึงน้ำหนักของไม้ ถ้าไม่รู้สึกเลยนั่นแสดงว่ากำด้ามไม้แน่นเกินไป

ปัญหายอดนิยม ...

แหม กำลังตีโฟร์แฮนด์ทางขวาอยู่ดีๆ คู่ต่อสู้ดันส่งลูกมาทางซ้าย เดี๋ยวขวา เดี๋ยวซ้าย ซ้ายๆขวาๆ จะตีแบ็คแฮนด์ทันได้ยังไง

ไม่ใช่แค่ซ้ายขวาเท่านั้นหรอก เดี๋ยวยาว เดี๋ยวสั้น ถูกหยอดอีกแล้ว นึกว่าจะได้ตีลูกท้อปด้วยโฟร์แฮนด์สักหน่อย อ้าแขนเตรียมจะเหวี่ยงไม้ไว้อยู่แล้ว เสียจังหวะหมดเลย


ลองเอาปัญหานี้ไปถามโค้ชครูฝึกของคุณดูว่าจะตอบยังไง แต่อย่าตอบเชียวนะว่า ต้องฝึกเยอะจนกว่าจะคล่อง ตอบเลี่ยงๆแบบนี้ใช้แก้ได้กับทุกปัญหาแต่ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น

ถ้าเป็นนักปิงปองมือใหม่ก็มักจะเหวี่ยงแขนกลับมาในวงสวิงเดียวกันกับวงที่สวิงเหวี่ยงแขนออกไป หากตั้งท่าจะตีแต่โฟร์แฮนด์แบบนี้ก็ต้องวิ่งขยับตัวไปทั่วโต๊ะเพื่อตีแต่โฟร์แฮนด์ให้ได้ทุกลูก ทิ้งโอกาสที่จะยืนตำแหน่งเดิมแล้วใช้แบ็คแฮนด์ตีสวนกลับไปบ้าง

เรามาหาคำตอบจากภาพวงเหวี่ยงแขนนี้กัน

 

WLBackswing

 

ดูภาพที่ 5 ตรงกลางให้ดี เห็นไหมว่าเมื่อเหวี่ยงแขนตีลูกปิงปองออกไปแล้ว เขาฝึกวงสวิงที่ย้อนกลับมามีจังหวะหยุด น้ำหนักตัวทิ้งลงที่เท้าเท่าๆกันเพื่อรักษาสมดุล ตั้งท่าเตรียมพร้อมไว้เสมอ นอกจากนั้นสายตายังต้องคอยอ่านท่าตีของคู่ต่อสู้ว่าเขาจะตีกลับมาทางใดเพื่อคาดการณ์ไว้ก่อน

จากคำอธิบายในตอนที่ 1

เพื่อให้เกิดการถ่ายเทโมเมนตัมจากลำตัวมาสู่ท่อนแขนโดยไม่เกิดการสูญเสีย ให้ยืดแขนไว้ตลอดในช่วงที่เหวี่ยงแขน จากนั้นในจังหวะก่อนที่ไม้จะกระทบลูกให้งอแขนเพื่อลดรัศมีของวงเหวี่ยง ซึ่งเมื่อรัศมีของวงเหวี่ยงลดลงจะส่งผลทำให้ไม้เคลื่อนที่เร็วขึ้นมาก

เคยสงสัยหรือไม่ว่า เวลาเหวี่ยงแขนในจังหวะอัดแรง จะเหยียดแขนหรือยืดแขนแค่ไหนดี จะต้องยืดแขนจนสุด จนมองเห็นแขนท่อนบนกับแขนท่อนล่างเป็นเส้นตรงเลยไหม

A Geometric definition of shoulder and elbow angles The range of shoulder flexion is

WLBackswing

ห้ามเหยียดแขนจนสุดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อต้นแขนต้องเสียพลังอย่างมากในการฉุดแขนท่อนล่างขึ้นมา

จากภาพนี้สังเกตให้ดีว่า ในจังหวะอัดแรงที่เหวี่ยงแขนไปข้างหลังนั้น แขนไม่ได้เหยียดจนสุด แต่จะรักษามุมตรงข้อศอกระหว่างแขนท่อนบนกับท่อนล่างไว้แทบจะคงเดิมตลอด ส่วนที่เห็นแขนเคลื่อนไปด้านหลังลำตัวมากๆนั้นเกิดจากการใช้สะบักหัวไหล่อัดแรงไปด้านหลังต่างหาก พลังที่ได้จากการออกแรงจากสะบักหัวไหล่จะมากกว่าแรงจากการเหวี่งแขนหลายเท่านัก (Explosive Power)

ZJLoopBS

จากทั้ง 2 ภาพนี้ ในจังหวะอัดแรงเขาจะเก็บข้อศอกให้ติดลำตัว เพื่อลดรัศมีลง จะช่วยทำให้หมุนตัวได้เร็วขึ้น ส่วนแขนซ้ายที่ไม่ได้ใช้ตีจะยกไว้ตลอดและรักษาระดับเดิมไว้เพื่อช่วยรักษาสมดุล

แนะนำให้อ่าน SPECIAL: ZHANG JIKE — THE KEY TO HIS SUCCESS

วิธีการฝึกซ้อมของจีนที่ทำให้นักกีฬาปิงปองของเขาเก่งขึ้น ไม่ได้เกิดจากการฝึกซ้อมที่ให้นักปิงปองเก่งๆจับคู่มาฝึกตีลูกกลับไปกลับมาอย่างที่เราฝึกกันแต่เพียงอย่างเดียว นักปิงปองแต่ละคนของเขาจะมีคู้ฝึกซ้อมพิเศษของตัวเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นคนเก่ง แต่ต้องเป็นคู่ฝึกซ้อมที่สามารถแก้จุดอ่อนให้กลายเป็นจุดแข็ง รู้จักการส่งลูกยากๆหลายๆแบบให้ได้ฝึกซ้อมกัน

 

indivudualKnocker

 https://youtu.be/eFlSXJbMNlI

สมัยเด็กๆตอนที่ผมเริ่มเรียนปิงปองกับครูจันทร์ ชูสัตยานนท์ บ่อยครั้งทีเดียวที่ท่านจะมาเป็นครูฝึกซ้อมให้ตัวต่อตัว แม้ท่าทางตีปิงปองของท่านจะไม่สวย ไม่สามารถเหวี่ยงแขนทำท่าทางแบบที่นักปิงปองวัยรุ่นทำกันได้เพราะวัยของท่านมากแล้วก็ตาม แต่ทุกลูกที่ครูจันทร์ส่งมาให้ล้วนมีคุณค่า คอยจี้ให้เห็นจุดอ่อน และสอนวิธีแก้ไขให้อยู่เสมอ

คู่ซ้อมพิเศษไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง ควรหาเพื่อนที่ยินดีจะมาเป็นคนป้อนลูกให้ คนหนึ่งเก่งลูกโยนสูง อีกคนเก่งลูกตัดเป็นมือรับ อีกคนหนึ่งเป็นมือที่เล่นยางแปลกๆพิสดาร ที่สำคัญคือคู่ซ้อมทุกคนล้วนมีเจตนาดี ช่วยหาทางส่งลูกกลับมาให้ได้ฝึกแต่ละท่าซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ได้มุ่งหวังแต่ว่าตัวเขาเองต้องเก่งกว่า หรือตีเอาแต่ใจเขาเอง

ส่วนสาเหตุที่ต้องฝึกซ้อมตีลูกท่าเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีกจนคนดูสงสัยว่า "ไม่เบื่อหรือไง" ไม่ใช่แค่เพื่อตีลูกไปจนกระทั่งสามารถควบคุมทิศทางหรือส่งลูกไปลงยังตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำเท่านั้น แต่ต้องฝึกจนกระทั่งเป็น Muscle Memory

เคยเห็นพระเอกการ์ตูนที่เป็นกลาสีเรือชื่อป้อปอายกันบ้างไหม พอถึงเวลาคับขันต้องการพลังพิเศษมาช่วยเหลือใครต่อใครก็จะเปิดกระป๋องทานผักขม แขนท่อนล่างจะขยายใหญ่ขึ้นมาทันที กลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญของป้อปอาย 

ตามปกตินั้นการตีแบ็คแฮนด์จะได้แรงจากการสะบัดมือน้อยมากเพราะกล้ามเนื้อที่ช่วยในการสะบัดข้อมือไม่มีแรงเท่ากับกล้ามเนื้อจากแขนท่อนบนและหัวไหล่ จึงแนะนำว่าสำหรับนักปิงปองมือใหม่ไม่ควรฝึกตีแบ็คแฮนด์โดยมุ่งใช้แรงจากการสะบัดข้อมือเป็นหลัก แต่ให้ข้อมือสะบัดเข้าแล้วออกไปเองตามแรงเหวี่ยงแขน

ถ้าใครมีกล้ามเนื้อส่วนที่ใช้เพื่อสะบัดข้อมืออ่อนแรง แล้วโดนตบอัดเข้ามาแรงๆ จะไม่สามารถโต้แบ็ดแฮนด์แรงๆกลับไป หรืออาจทำให้ข้อมือรับแรงไม่ไหวจนบาดเจ็บขึ้นมาก็ได้

 

ArmPopeye

 

คนที่อยากฝึกตีแบ็คแฮนด์ให้มีพลังเหมือนกับ Ma Long, Fan Zhendong, หรือ Harimoto ท่าทางที่เลียนแบบได้เหมือนยังต้องอาศัยท่อนแขนล่างที่มีกล้ามเนื้อแบบป้อปอายด้วย โดยเฉพาะ Harimoto ที่ยังเป็นเด็กก็ยังฝึกฝนตัวเองจนมีกล้ามเนื้อที่แขนท่อนล่างเป็นมัด กลายเป็นอาวุธที่ใช้เอาชนะ Ma Long ทำให้หลงทางรับลูกไม่ถูกทิศไปเลย 

 

HarimotoBkhand

https://youtu.be/mBGz6g7EF5I

 ArmMuscle
https://breakingmuscle.com/fitness/7-exercises-to-maximize-hand-wrist-and-forearm-strength

 

ส่วนวิธีการสร้างเสริมกล้ามเนื้อแขนท่อนล่างให้มีพลังแบบป้อปอาย นอกจากหมั่นทานผักขมที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังมีท่าออกกำลังอีกด้วยตามวิดีโอนี้

 

ForearmExerciseshttps://youtu.be/CLjtSyuE11I - ตอนที่ 1
https://youtu.be/eXfBnivGMxM - ตอนที่ 2
https://youtu.be/ngUPvfQJVW0 - ตอนที่ 3

 

ท่าตีปิงปองมักถูกแบ่งออกเป็น 5 จังหวะ เริ่มจาก จังหวะเตรียมพร้อม (ready stance) จังหวะอัดแรง (back swing) จังหวะปล่อยแรง (forward swing / forward movement) จังหวะไม้กระทบลูก (impact / strike) และจังหวะตาม (follow through) โดยเฉพาะจังหวะตามหรือ follow through นั้น นักปิงปองมือใหม่มักไม่ยอมทำเพราะกลัวว่าจะตีลูกต่อไปไม่ทัน โดยหารู้ไม่ว่าเมื่อทิ้งน้ำหนักมาเท้าหน้าแล้วจะช่วยให้มีแรงดีดกลับมาเพื่อตีลูกต่อไปได้เร็วขึ้น อีกทั้งเมื่อเหวี่ยงไม้ตามไปข้างหน้าจะช่วยทำให้ตีลูกได้แม่นยำขึ้นและท่าทางการเคลื่อนไหวจะนุ่มนวลมากขึ้น

นอกจากการถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าหลังแล้ว เคยสงสัยกันไหมว่า พอปล่อยแรงเหวี่ยงแขนตีออกไปแล้ว จะเหวี่ยงแขนย้อนกลับมาเพื่อตีลูกต่อไปด้วยท่าใด ใช้วงแบบใด ส่วนมากมักเห็นนักปิงปองใช้ท่าเดียวกับการเหวี่ยงแขนออกไป เหวี่ยงแขนไปข้างหน้าแบบใดก็จะเหวี่ยงแขนกลับมาโดยใช้วงเหวี่ยงในวงเดิม

จังหวะที่ 6 ที่ลืมนึกถึงกันก็คือ จังหวะย้อนกลับมาสู่เตรียมพร้อม (recovery) มาดูวิดีโอของ Koki Niwa ว่าเขาใช้วงเหวี่ยงแบบที่ว่านี้หรือไม่

 

KokiNiwaSwingVDOhttps://youtu.be/dwGha2KsRMo

KokiNiwaSwing

 คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

ดูกันดีๆจะเห็นว่าเขา-ไม่ได้-เหวี่ยงไม้กลับมาในวงเดียงกันกับวงที่เหวี่ยงออกไป แต่จะลากไม้กลับเข้าหาลำตัวเพื่อลดรัศมีของแขนลงก่อน กลายเป็นท่าเตรียมพร้อมสำหรับตีลูกถัดไป พร้อมที่จะตีต่อไม่ว่าลูกจะส่งกลับมาตามทิศทางเดิมหรือไม่ เรื่องนี้เคยนำเสนอวงของ Wang Liqin แชมป์โลกหลายสมัยให้ดูกันแล้วว่าใช้วงเหวี่ยงกลับมาแบบเดียวกับ Koki Niwa เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีคำแนะนำให้เหวี่ยงไปกลับในวงเดิมก็ได้ตามวิดีโอนี้ แต่ลองนึกกันเองว่า หากลูกปิงปองไม่ได้ย้อนกลับมาในทิศทางเดิมจะทำอย่างไรต่อ

 

swing123https://youtu.be/15jlvjvkhmQ

 

แทนที่จะใช้วงเหวี่ยงแบบตามใจชอบ ควรเรียนรู้ถึงสาเหตุกันดีกว่า เชิญศึกษารายละเอียดได้จาก https://www.tabletennistip.com/pinpong-players/training/148-back-swing

ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อนครับ เพื่ออ่านเคล็ดลับนี้

หากหลับตาแล้วฟังเสียงนักปิงปองที่ผ่านการฝึกเบสิคมาอย่างดีซ้อมตีลูกกันไปมา เสียงที่ลูกปิงปองกระทบไม้จะเพราะเหลือเกิน เสียงที่ไพเราะก้องกังวานนั่นแสดงว่า นอกจากตีลูกโดนจุดกลางไม้ที่เรียกว่า Sweet Spot แล้ว ลูกปิงปองที่วิ่งมากระทบไม้จะอยู่บนหน้าไม้ในระยะเวลานานอย่างพอเหมาะ ซึ่งเรียกว่า Dwell Time ลูกปิงปองจะกระเด้งออกจากไม้ไปโดยใช้ประสิทธิภาพของเนื้อยางและเนื้อไม้อย่างมีคุณภาพเต็มที่ พอลืมตาขึ้นมองดูก็ยังพบว่า เขาตีลูกปิงปองกันไปมา ลงปลายโต๊ะใกล้เส้นหลัง และลงตำแหน่งเดิมแทบทุกลูก ส่วนตัวนักปิงปองก็ดูเหมือนขยับตัวเหวี่ยงแขนเพียงเล็กน้อย แต่สามารถส่งลูกออกไปได้แรงทีเดียว

ถ้าคุณอยากทำได้แบบที่ว่านี้ เริ่มต้นต้องฝึกเดาะลูกปิงปองกันจนกว่าลูกปิงปองจะกระเด้งขึ้นไปได้ตรงๆ ไม้ไม่ส่ายไปส่ายมา ไม่ต้องเลื่อนไม้ตามไปซ้ายบ้างขวาบ้าง ไม่ต้องขยับตัวตามลูกไปเรื่อยๆ ฝึกไปฟังเสียงไปด้วยว่าได้ยินเสียงลูกกระทบไม้หรือว่าได้ยินแต่เสียงไม้กระทบลูก รู้สึกถึงแรงของลูกที่ตกลงมาบนหน้าไม้แล้วหรือยัง ไม่ใช่ว่ารู้แค่ว่าออกแรงเดาะลูกขึ้นไป

พอฝึกเดาะลูกคล่องแล้ว ค่อยๆเพิ่มความสูงของลูกขึ้นไปเรื่อยๆ จากนั้นลองเดาะลูกไปมากับเพื่อน เริ่มจากยืนใกล้กันแล้วห่างออกไปเรื่อยๆ พอฝึกเสร็จให้ดูรอยฝุ่นบนหน้ายางว่าอยู่ตรงกลางหน้าไม้หรือไม่

พอลงสนามฝึกตีโต้กันไปมา อย่าเพิ่งรีบร้อนเล่นลูกหมุนหรือตีเร็วหรือแรงใส่กัน ควรมุ่งฝึกท่าทางการขยับตัวและแขนให้ได้จังหวะที่ดีก่อน มุ่งส่งลูกให้แม่นยำทุกลูก ซึ่งในจังหวะที่ไม้กระทบลูกนั้น แม้วงสวิงจะเป็นวงโค้งก็ตาม ถ้ามองภาพจากด้านบนลงมา หน้าไม้ต้องตั้งฉากกับทิศทางที่จะส่งลูกออกไป และในจังหวะที่ลูกอยู่บนไม้ให้เคลื่อนไม้เป็นเส้นตรงระยะทางสั้นๆตามไปด้วย

Accurate

ความแม่นยำยังขึ้นกับอีกหลายอย่าง การตั้งท่ามั่นคงหรือไม่ หน้าไม้นิ่งในจังหวะที่ไม้กระทบลูกหรือไม่ วงเหวี่ยงยิ่งลดรัศมีลงจะยิ่งช่วยทำให้แม่นยำมากขึ้น และสำคัญที่สุดต้องมีความตั้งใจที่จะตีไปยังเป้าหมายที่ต้องการ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก

https://www.tabletennistip.com/pinpong-players/training/221-precision-vs-accuracy

เคยสงสัยไหมว่าทำไมนักกีฬาชั้นนำจึงสามารถตีเข้าเป้าได้อย่างแม่นยำทุกลูก ไม่ว่าจะเป็นกอล์ฟ ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล เทนนิส หรือปิงปอง ตัวนักกีฬาเองมักตอบว่าเพราะตัวเองฝึกฝนมามาก แต่ทำไมคนอื่นที่ฝึกแล้วฝึกอีก ทำอย่างไรก็ยังไม่แม่นอยู่ดี จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์เชิญนักกีฬามือหนึ่งมาทดสอบวิธีที่เขามองลูกบอลนั่นแหละ จึงพบว่าเขาเหล่านี้ใช้วิธีหนึ่งที่เหมือนกันอย่างไม่รู้ตัว นั่นคือการใช้ Quiet Eye นั่นเอง

ตามปกติเราถูกสอนให้มองลูกปิงปองตลอดเวลาใช่ไหม ถ้าใครสอนแบบนี้ต้องถามกลับไปว่า ถ้าเอาแต่มองลูกปิงปองแล้วไม่ต้องมองคู่ต่อสู้บ้างหรือยังไง ถ้ามองลูกปิงปองบ้าง มองคู่ต่อสู้บ้าง ส่วนโต๊ะปิงปองล่ะต้องมองด้วยไหม

ที่ถูกต้องนั้น การมองลูกปิงปองให้มองในช่วงที่คู่ต่อสู้ตีลูกออกมาหาเรา ส่วนตอนที่เราตีลูกออกไปจากไม้แล้วเราไม่ต้องมองที่ลูกปิงปองต่อไปอีก แต่ให้มองที่คู่ต่อสู้แทนว่าเขาจะตีโต้กลับมาอย่างไร ขอให้อ่านรายละเอียดได้จากบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างศีรษะ ตา และมือ

ส่วน Quiet Eye ที่ว่านี้คือตอนที่ไม้กระทบลูก ให้คงสายตาจ้องไว้ที่ตำแหน่งเดิมต่อไปอีกระยะหนึ่งแม้ลูกจะกระเด้งออกจากไม้ปิงปองไปแล้วก็ตาม อย่าเคลื่อนการมองไปที่อื่น

นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า ก่อนที่จะตีลูกให้มองไปที่เป้าหมายตำแหน่งบนโต๊ะที่จะตีลูกปิงปองไปลงไว้ก่อน จากนั้นให้ย้ายการมองกลับมาที่ลูกที่กำลังลอยมาหา พอตีลูกออกไปแล้วก็ไม่ต้องมองตามลูกออกไป แต่ให้มองค้างไว้ที่ตำแหน่งเดิมไว้สักระยะหนึ่งก่อนที่จะหันไปมองคู่ต่อสู้ 

xuxin eye

 XuXinQuierEye01

XuXinQuierEye02

XuXinQuierEye03

 https://youtu.be/sFVBuMnITuM

การที่เหลือบมองเป้าหมายไว้ก่อนเท่ากับว่า เราไม่ได้ตีกลับไปแบบมั่ว แต่เป็นการตั้งใจว่าจะตีไปที่ตำแหน่งนั้น จากนั้นพอมองตามไว้ที่ลูก และคงตำแหน่งการมองไว้ที่เดิมแม้จะตีลูกออกไปจากไม้ไปแล้วก็ตาม เท่ากับการกำหนดจิตให้มีสมาธิ ไม่สนใจเรื่องอื่นใดอีกนอกจากลูกปิงปอง สมองของเราจะจัดการประมวลคำสั่งให้ตีลูกออกไปยังเป้าหมายให้เอง 

liqin eye

GAZE CONTROL DURING THE HITTING PHASE IN TENNIS

QuietEyehttps://youtu.be/Qsnxw8S6haw

 

หลายคนยังสับสนระหว่างท่าเตรียมพร้อมกับท่าตี FH ว่าควรจะวางเท้าอย่างไรดี

ท่าเตรียมพร้อมอาจวางเท้าขนานกับขอบหลังของโต๊ะหรือจะวางเท้าขวาห่างจากขอบโต๊ะมากกว่าเท้าซ้ายเพื่อเตรียมตี FH

 

FHStance

MaLong

hqdefault 2

 

ขอให้สังเกตภาพเหล่านี้เพื่อดูว่า ในการตี FH เขาวางเท้าขวาไว้หลังเท้าซ้ายกันมากน้อยขนาดไหน แปรตามระยะใกล้ไกล กับทิศทางที่ต้องการตีอย่างไร

อย่าดูแค่เทียบแนววางเท้ากับแนวขอบโต๊ะนะครับ

ควรวางเท้าขวาไว้หลังเท้าซ้ายเพื่อช่วยในการถ่ายน้ำหนักส่งแรงเข้าหาลูก ตามทิศทางที่ต้องการส่งลูกออกไปได้เต็มที่

 

forest

 

ท่าวางเท้าแบบ Forest Gump จะทำให้กระดูกสันหลังรับภาระในการรับแรงที่ส่งไปแล้วดึงกลับมาตีลูกต่อไปอย่างมาก อนาคตต้องปวดหลังแน่นอน

“ทำเพื่อชาติ” คำนี้หลายคนต้องนึกถึงทหาร แต่ถ้านำไปค้นหาจากอากู๋ (google) กลับพบว่าเป็นคำที่ใช้ในหมู่นักการเมืองกับนักกีฬาเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนักกีฬาทีมชาติเวลาถูกสัมภาษณ์ออกข่าวทางทีวีก็จะเห็นประโยคที่พูดให้คนไทยได้ยินกันเสมอว่า “จะแข่งขันให้ดีที่สุดเพื่อชื่อเสียงของประเทศไทย” นักปิงปองบางคนถึงกับถือว่าการเล่นปิงปองเป็นการทำหน้าที่เหมือนเป็นงานอย่างหนึ่งทีเดียว

 

ForThai

 

อย่าว่าแต่นักกีฬาเลย ใครก็ตามที่ได้เป็นตัวแทนของประเทศ มักมีโอกาสได้เดินทางไปต่างประเทศ ได้ค่าเบี้ยเลี้ยง ได้ออกข่าว ถือเป็นโอกาสที่น้อยคนนักจะได้รับ เด็กที่ได้เที่ยวด้วยแถมได้ค่าขนมด้วยก็พากันติดใจ ไม่อยากจะสูญเสียโอกาสดีแบบนี้จึงพยายามที่จะเป็นตัวแทนของประเทศต่อไปให้นานที่สุด โดยลืมนึกไปว่าเมื่อถึงเวลาก็ต้องอำลาการทำเพื่อชาติแล้วนะ

รุ่นพี่อดีตนักปิงปองทีมชาติหลายคนเล่าให้ฟังว่า เขาเองพอถึงเวลาต้องทำงานก็ต้องทำงาน ต้องหยุดเล่นปิงปองไปเลย จึงทำให้สามารถมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเช่นทุกวันนี้ ส่วนคนที่เล่นด้วยทำงานไปด้วยมักไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานมากนัก เว้นแต่เขามีกิจการของครอบครัวของเขาเองอยู่แล้วก็ไม่ว่ากัน

ในการเข้าทำงานนั้น หัวหน้างานเขาอาจพูดทำนองว่า “ตามสบายนะ เชิญเล่นปิงปองต่อไปได้เลย จะได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ” แต่ไม่มีหัวหน้างานคนไหนหรอกที่จะเห็นว่าการเล่นปิงปองสำคัญกว่างานที่ต้องรับผิดชอบอยู่ หัวหน้างานจะแอบดูว่า ลูกน้องของตนคนนี้ เขาคิดเองเป็นหรือไม่ เขาต้องรู้ตัวเองว่า เมื่อทำงานก็ต้องทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างเต็มที่ ถ้าคิดไม่เป็นเอาแต่เล่นปิงปองต่อไป ลางานไปแข่งบ้าง ออกก่อนเวลาไปฝึกซ้อมบ้าง ลูกน้องแบบนี้มีหัวหน้าที่ไหนบ้างจะอยากได้

ถ้ายังอยากจับปลาสองมือ เล่นไปด้วย ทำงานไปด้วย ในที่สุดก็จะแพ้วัยสังขารของตัวเอง พออายุมากขึ้นเล่นปิงปองไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน งานก็ไม่ก้าวหน้าเหมือนกับคนรุ่นเดียวกันเสียอีก

Go to top